Friday, January 17, 2014

ซันคลาร่าอีกแล้ว

ช่วงนี้ มีคนมาถามหาซื้อ ซันคลาร่าที่ร้านยาของข้าพเจ้า บอกว่าเป็นยาสตรี มีโฆษณาทางวิทยุด้วย ข้าพเจ้าลองมาค้นดูในอินเตอร์เน๊ต เจอคำเตือนจาก อ.ย.เรื่องอย่าหลงเชื่อคำโฆษณาซันคลาร่า ตั้งแต่ พ.ศ.2554 แล้ว


อย่าหลงเชื่อโฆษณาผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร “ซันคลาร่า” โวสรรพคุณเกินจริง ผิดกฎหมาย

อย. เตือนผู้บริโภค อย่าตกเป็นเหยื่อหลงเชื่อโฆษณาผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร “ซันคลาร่า”
ทางแผ่นพับวิทยุ เว็บไซต์ รวมทั้งในรูปแบบขายตรง อวดสรรพคุณ อ้างทําให้ผิวสวย หน้าใส ลดน้ําหนัก ป้องกันโรคเบาหวาน พาร์กินสัน และอัลไซเมอร์ โดยไม่ได้รับอนุญาตจาก อย. ย้ํา! ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารไม่ใช่ยารักษาโรค ไม่ได้ช่วยลดน้ําหนัก ไม่ได้ช่วยเสริมเรื่องทางเพศ ขอให้ผู้บริโภคพิจารณาถี่ถ้วนก่อนซื้อ มิเช่นนั้นจะเสียเงินทองจํานวนมาก โดยไม่ได้รับประโยชน์จากการบริโภค แถมอาจเกิดการเสี่ยงต่อร่างกาย หากมีสารอันตรายเป็นส่วนผสม

นพ.นรังสันต์ พีรกิจ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า หลังจาก อย. ได้รับเรื่อง
ร้องเรียนจากผู้บริโภคให้ตรวจสอบโฆษณาผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร “ซันคลาร่า” ที่โฆษณาอวดสรรพคุณเกินจริงทางวิทยุชุมชน แผ่นพับ และเว็บไซต์ http://www.starsunshine.com เกรงว่าจะมีการหลอกลวงประชาชน เพราะมีข้อความโฆษณาสรรพคุณป้องกันโรคต่างๆ ซึ่ง อย. ได้ตรวจสอบทันที พบว่า มีการโฆษณาผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร “ซันคลาร่า” ทางแผ่นพับ วิทยุ และเว็บไซต์ดังกล่าวจริง โดยระบุข้อความโฆษณา เช่น “...ผิวสวย หน้าใส ภายในกระชับ ช่วยให้ผนังเส้นเลือดโดยเฉพาะเส้นเลือดดํา (veins) มีความแข็งแรงเพิ่มขึ้น ต่อต้านอนุมูลอิสระ ลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด ป้องกันเบาหวาน ช่วยให้น้ําหนักลดลง ป้องกันความผิดปกติของผิวหนัง ป้องกันโรคพาร์กินสันและอัลไซเมอร์...” เป็นต้น

ทั้งนี้ อย. ได้ตรวจสอบข้อความโฆษณาดังกล่าว ปรากฏว่าไม่ได้รับอนุญาตโฆษณาจาก อย. แต่อย่างใด ดังนั้น ถือว่ามีความผิดตามกฎหมายในข้อหาโฆษณาคุณประโยชน์ คุณภาพ หรือสรรพคุณของอาหารโดยไม่ได้รับอนุญาต มีโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท โดยได้ดําเนินคดีกับบริษัท สตาร์ ซันไชน์ จํากัด ผู้จัดจําหน่ายผลิตภัณฑ์ ซึ่งรับว่าเป็นผู้จัดทําข้อความโฆษณาอวดอ้างสรรพคุณ พร้อมทั้งมีหนังสือไปยังบริษัทฯ เพื่อระงับการโฆษณาผลิตภัณฑ์เสริมอาหารดังกล่าวในทุกสื่อแล้ว

รองเลขาธิการฯ อย. กล่าวต่อไปว่า ขอให้ผู้บริโภคใช้วิจารณญาณพิจารณาให้ถี่ถ้วนก่อนซื้อ
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ที่สําคัญ อย่าได้หลงเชื่อสรรพคุณว่าสามารถป้องกันหรือรักษาโรค นอกจากเสียเงินโดยไม่จําเป็นแล้ว หากท่านมีโรคประจําตัว อาจได้รับผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายต่อร่างกายโดยคาดไม่ถึงได้ พร้อมทั้ง ขอให้ผู้ประกอบการทุกรายเห็นแก่ความปลอดภัยของผู้บริโภค ดําเนินธุรกิจอย่างมีคุณธรรมและจริยธรรม อย่าโฆษณาด้วยวิธีต่าง ๆ ในลักษณะที่เกินเลยความเป็นจริง มิฉะนั้น อย. จะดําเนินการตามกฎหมายอย่างเข้มงวดและเด็ดขาด

หากผู้บริโภคพบเห็นการอวดอ้างสรรพคุณผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเกินจริง เช่น รักษาได้สารพัดโรค ช่วยในการลดน้ําหนัก ช่วยเรื่องผิวพรรณ เป็นต้น ผ่านทางสื่อต่างๆ หรือโฆษณาหลอกลวงให้ผู้บริโภคหลงเชื่อโดยการขายตรง ขอให้แจ้งร้องเรียนมายังสายด่วน อย. 1556 หรือสํานักงานสาธารณสุขจังหวัดทุกจังหวัด เพื่อทางราชการจะได้ตรวจสอบและดําเนินการตามกฎหมายต่อไป

กองพัฒนาศักยภาพผู้บริโภค 31 สิงหาคม 2554 ข่าวแจก 102 /ปีงบประมาณ 2554

Wednesday, January 15, 2014

7 สิ่งควรบอก “เภสัชกร” ก่อนซื้อยา

วันนี้อ่านเจอบทความหนึ่งน่าสนใจ เลยขอคัดลอกมาให้อ่าน
จาก  http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9560000136807

หากมีความจำเป็นที่จะต้องไปซื้อยาจากร้านขายยา สิ่งที่เราควรบอกแก่เภสัชกรทุกครั้งก่อนซื้อยา มีดังนี้
       
       1.ผู้ใช้ยา : ผู้ใช้ยาเป็นใคร อายุประมาณเท่าไร เป็นเด็ก หนุ่มสาว วัยรุ่น หรือผู้สูงอายุ
       
       2.อาการป่วย : ควรบอกอาการที่ป่วยว่า เป็นอาการนั้นมานานเท่าไร บอกช่วงเวลาที่อาการมักกำเริบขึ้น ความถี่ของอาการ เเละความรุนเเรงเมื่อเกิดอาการ
       
       3.ผลวินิจฉัยจากแพทย์ (ถ้ามี) : ผลที่เคยได้รับจากการตรวจวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเป็นโรคอะไร และได้รับการรักษาอะไรมาบ้าง
       
       4.โรคประจำตัวเเละยาที่ใช้ประจำ : เพื่อเป็นการป้องกันปัญหาซ้ำซ้อนของยา หรือการเกิดอาการตีกันของยา (Drug - Drug Interactions)
       
       5.ประวัติการเเพ้ยา : บอกประวัติการแพ้ยาว่า เคยแพ้ยาชนิดใด อาการเป็นอย่างไร เพื่อป้องการป้องกันการเเพ้ยา หรือได้รับยาในกลุ่มที่อาจก่อให้เกิดอาการแพ้ได้
       
       6.น้ำหนักตัว : โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยเด็กเเละผู้สูงอายุ ผู้ป่วยที่มีน้ำหนักตัวน้อย หรือมากกว่าปกติ
       
       7.ภาวะการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร : เนื่องจากยาหลายๆ ตัวสามารถส่งผลกระทบต่อทารกในครรภ์และขับออกมาทางน้ำนมได้ หญิงมีครรภ์หรือหญิงที่อยู่ในช่วงให้นมบุตรจึงต้องมีความระมัดระวังมากกว่าปกติ และแจ้งเภสัชกรหรือแพทย์ทุกครั้งหากต้องการใช้ยา เพราะในหลายๆ ครั้งภาวะดังกล่าวไม่สามารถสังเกตได้จากภายนอก

      

Monday, January 6, 2014

ระวังอันตรายจากยาทาผิวขาวผสมสารสเตียรอยด์

อย.เตือนระวัง ยาทาให้ผิวขาว อันตราย-ขาลาย


อย.เตือน ภัยครีมผิวขาว หลังพบวัยรุ่นเพชรบุรีมีผลข้างเคียงเกิดจ้ำเลือดจนน่องลาย พบทั้ง สเตียรอยด์และสารต้องห้ามเพียบ บางชนิดมีส่วนผสมยาอันตราย ใช้แล้วแพ้ผื่นคัน เผยพบในครีมกระปุกแบ่งขาย ผสมเอง และบนฉลากภาษาจีนที่วางขายตามตลาดนัด ร้านเสริมสวยและอินเตอร์เน็ต กำลังฮิตในหมู่วัยรุ่นขนาดผิวคล้ำแต่เกิดยังซื้อใช้ หวังให้ผิวขาวมีออร่า

เมื่อ วันที่ 5 ม.ค.นายประพนธ์ อางตระกูล รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวว่า ขณะนี้วัยรุ่นและนักศึกษาไทยมีค่านิยมอยากมีผิวขาวใสหรือที่เรียกว่าผิวมีออ ร่า จนทำให้ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่ทำให้ผิวขาวได้รับความนิยม มีการโฆษณา ชวนเชื่อและจำหน่ายทางอินเตอร์เน็ต หรือบอกปากต่อปากในกลุ่มเพื่อนและคนใกล้ชิด ทำให้อยากลองใช้แม้ตัวเองจะมีผิวคล้ำมาแต่กำเนิดก็ตาม ซึ่งเกิดความเสี่ยงได้รับผลข้างเคียงจากเครื่องสำอางที่ไม่ได้มาตรฐาน

นาย ประพนธ์กล่าวว่า จากการสำรวจท้องตลาดขณะนี้พบผลิตภัณฑ์ใหม่กำลังได้รับความนิยม เช่น ครีมกระปุกหรือครีมที่ขายเป็นกิโลกรัมและแบ่งขายเป็นกระปุกหรือเป็นขวดที่ ไม่มีฉลาก โดยจ.เพชรบุรีได้รับรายงานว่ากลุ่มวัยรุ่นอายุ 16-18 ปี มีอาการแพ้ ผิวหนังมีผื่นคันและแตกเป็นลายที่บริเวณขา ซึ่งเกิดจากการใช้เครื่องสำอาง นักเรียนให้ข้อมูลว่าส่วนใหญ่ซื้อครีมจากร้านค้าแผงลอยในตลาดนัด รองลงมาคือร้านจำหน่ายเครื่องสำอางที่น่าเชื่อถือ ร้านเสริมสวย ร้านชำทั่วไป สั่งซื้อจากอินเตอร์เน็ต และซื้อจากเพื่อนและญาติ โดยกลุ่มวัยรุ่นใช้ครีมดังกล่าวทาผิววันละ 2-3 ครั้ง นาน 6 เดือนถึง 2 ปี จนเกิดอาการที่กล่าวมาข้างต้น

น.ส.จารุวรรณ ลิ้มสัจจะสกุล ผอ.ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 5 สมุทรสงคราม กล่าวว่า ทางศูนย์และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพชรบุรี ติดตามคุ้มครองผู้บริโภคมากว่า 1 ปี โดยเก็บตัวอย่างครีม โลชั่นทาผิว 11 ตัวอย่างที่วางขายในจ.เพชรบุรี ประกอบด้วยครีม 4 ประเภท ได้แก่ 1.ครีมผสมเองแบ่งขายใส่กระปุกที่ไม่มีฉลาก 2.ครีมที่ผสมเองแบ่งขายใส่กระปุกที่มีฉลากแต่ไม่ได้จดแจ้ง 3.ครีมที่มีฉลากภาษาจีน และ 4.ครีมที่มีฉลากภาษาจีนซึ่งเป็นยาใช้ภายนอก ผลตรวจวิเคราะห์พบสารสเตียรอยด์ชนิดโคลเบทาซอล โพรพิโอเนต (Clobetasol propionate) ในครีมทั้ง 11 ตัวอย่าง ปริมาณ 8.0-449.8 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ซึ่งเป็นส่วนผสมที่สูงมาก นอกจากนี้ยังตรวจพบสารคีโตโคนาโซล (Ketoconazole) ซึ่งจัดเป็นยาในทุกตัวอย่าง และบางตัวอย่างตรวจพบการใส่วัตถุกันเสีย 2 ชนิด คือ เมทิลพาราเบน (Methylparaben) และโพรพิลพราราเบน (Propylparaben) ด้วย

น.ส.จารุ วรรณกล่าวว่า สารโคลเบทาซอล โพรพิโอเนต เป็นสารห้ามใช้ในเครื่องสำอางตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องกำหนดวัตถุที่ห้ามใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตเครื่องสำอาง สารดังกล่าวเป็นยาสเตียรอยด์ใช้ทาภายนอกร่างกายที่มีความแรงสูงสุด ใช้รักษาผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงิน โรคผื่นผิวหนังที่ดื้อยาสเตียรอยด์ชนิดรุนแรงปานกลาง หรือใช้ในบริเวณผิวหนังที่หนา เช่น ขาหรือส้นเท้า สารชนิดนี้เมื่อใช้ไปนานๆ จะทำให้ผิวหนังบางลง เกิดจ้ำเลือดง่าย หรือมีรอยแตกที่ผิวหนัง เป็นต้น เบื้องต้นพบว่าครีมดังกล่าวมาจากประเทศจีน มักขายตามแนวชายแดน มีฉลากภาษาจีนเป็นยาใช้ภายนอก ข้างกล่องจะมีตัวย่อ OTC (Over the Counter drug) หมายถึงกลุ่มยาที่ประชาชนสามารถเลือกซื้อใช้ได้เองจากร้านขายยาและร้านค้า ทั่วไปในประเทศจีน แต่ในไทยจัดเป็นยาอันตราย ต้องซื้อจากร้านขายยาที่มีเภสัชกรแผนปัจจุบันประจำอยู่เท่านั้น

น.ส.จารุ วรรณกล่าวว่า ปี 2557 ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 5 สมุทรสงคราม ร่วมกับกลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภค สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดในเครือข่ายทั้ง 8 จังหวัด ได้แก่ เพชรบุรี สมุทรสาคร สมุทรสงคราม ราชบุรี กาญจนบุรี ประจวบคีรีขันธ์ นครปฐม และสุพรรณบุรี เฝ้าระวังการใช้เครื่องสำอางอันตรายที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ โดยเก็บตัวอย่างตรวจวิเคราะห์อย่างต่อเนื่องเพื่อกวาดล้างเครื่องสำอางที่ ไม่ได้มาตรฐานจากท้องตลาด เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารความรู้ต่างๆ จากการใช้เครื่องสำอางที่มีส่วนผสมสารอันตรายหรือสารต้องห้ามเพื่อให้ ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจ และตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขกำหนดให้ผู้ประกอบการผลิตหรือนำเข้าเครื่อง สำอางจะต้องไปจดแจ้งกับ อย. ก่อนวางขายในท้องตลาด เมื่อจดแจ้งแล้วผลิตภัณฑ์นั้นจะได้เลขที่ใบรับแจ้ง 10 หลัก โดยจะต้องแสดงเลขที่ใบรับแจ้งดังกล่าวไว้บนฉลากของผลิตภัณฑ์นั้นๆ ด้วย ประชาชนสามารถตรวจสอบได้ก่อนตัดสินใจซื้อจากเว็บไซต์ www.fda.moph.go.th หรือจาก Oryor Smart Application หรือสอบถามที่ อย. โทร.0-2590-7441 หรือ 0-2590-7273-4

ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุขออกประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 7 ว่าด้วยการกำหนดวัตถุที่ห้ามใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตเครื่องสำอาง ปรับปรุงจากประกาศฉบับเดิมให้มีความทันสมัยตามข้อเสนอของคณะกรรมการควบคุม เครื่องสำอาง และเพื่อการรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ซึ่งรมว.สาธารณสุขลงนามแล้วตั้งแต่วันที่ 25 ก.ค. 2556 และประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 16 ก.ย. 2556 มีผลบังคับใช้หลังจากครบ 180 วันนับตั้งแต่วันที่ลงในราชกิจจานุเบกษา คือวันที่ 15 มี.ค.2557 เป็นต้นไป
 

http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNNE9EazNOREUyTVE9PQ==&subcatid=