Friday, January 17, 2014

ซันคลาร่าอีกแล้ว

ช่วงนี้ มีคนมาถามหาซื้อ ซันคลาร่าที่ร้านยาของข้าพเจ้า บอกว่าเป็นยาสตรี มีโฆษณาทางวิทยุด้วย ข้าพเจ้าลองมาค้นดูในอินเตอร์เน๊ต เจอคำเตือนจาก อ.ย.เรื่องอย่าหลงเชื่อคำโฆษณาซันคลาร่า ตั้งแต่ พ.ศ.2554 แล้ว


อย่าหลงเชื่อโฆษณาผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร “ซันคลาร่า” โวสรรพคุณเกินจริง ผิดกฎหมาย

อย. เตือนผู้บริโภค อย่าตกเป็นเหยื่อหลงเชื่อโฆษณาผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร “ซันคลาร่า”
ทางแผ่นพับวิทยุ เว็บไซต์ รวมทั้งในรูปแบบขายตรง อวดสรรพคุณ อ้างทําให้ผิวสวย หน้าใส ลดน้ําหนัก ป้องกันโรคเบาหวาน พาร์กินสัน และอัลไซเมอร์ โดยไม่ได้รับอนุญาตจาก อย. ย้ํา! ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารไม่ใช่ยารักษาโรค ไม่ได้ช่วยลดน้ําหนัก ไม่ได้ช่วยเสริมเรื่องทางเพศ ขอให้ผู้บริโภคพิจารณาถี่ถ้วนก่อนซื้อ มิเช่นนั้นจะเสียเงินทองจํานวนมาก โดยไม่ได้รับประโยชน์จากการบริโภค แถมอาจเกิดการเสี่ยงต่อร่างกาย หากมีสารอันตรายเป็นส่วนผสม

นพ.นรังสันต์ พีรกิจ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า หลังจาก อย. ได้รับเรื่อง
ร้องเรียนจากผู้บริโภคให้ตรวจสอบโฆษณาผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร “ซันคลาร่า” ที่โฆษณาอวดสรรพคุณเกินจริงทางวิทยุชุมชน แผ่นพับ และเว็บไซต์ http://www.starsunshine.com เกรงว่าจะมีการหลอกลวงประชาชน เพราะมีข้อความโฆษณาสรรพคุณป้องกันโรคต่างๆ ซึ่ง อย. ได้ตรวจสอบทันที พบว่า มีการโฆษณาผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร “ซันคลาร่า” ทางแผ่นพับ วิทยุ และเว็บไซต์ดังกล่าวจริง โดยระบุข้อความโฆษณา เช่น “...ผิวสวย หน้าใส ภายในกระชับ ช่วยให้ผนังเส้นเลือดโดยเฉพาะเส้นเลือดดํา (veins) มีความแข็งแรงเพิ่มขึ้น ต่อต้านอนุมูลอิสระ ลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด ป้องกันเบาหวาน ช่วยให้น้ําหนักลดลง ป้องกันความผิดปกติของผิวหนัง ป้องกันโรคพาร์กินสันและอัลไซเมอร์...” เป็นต้น

ทั้งนี้ อย. ได้ตรวจสอบข้อความโฆษณาดังกล่าว ปรากฏว่าไม่ได้รับอนุญาตโฆษณาจาก อย. แต่อย่างใด ดังนั้น ถือว่ามีความผิดตามกฎหมายในข้อหาโฆษณาคุณประโยชน์ คุณภาพ หรือสรรพคุณของอาหารโดยไม่ได้รับอนุญาต มีโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท โดยได้ดําเนินคดีกับบริษัท สตาร์ ซันไชน์ จํากัด ผู้จัดจําหน่ายผลิตภัณฑ์ ซึ่งรับว่าเป็นผู้จัดทําข้อความโฆษณาอวดอ้างสรรพคุณ พร้อมทั้งมีหนังสือไปยังบริษัทฯ เพื่อระงับการโฆษณาผลิตภัณฑ์เสริมอาหารดังกล่าวในทุกสื่อแล้ว

รองเลขาธิการฯ อย. กล่าวต่อไปว่า ขอให้ผู้บริโภคใช้วิจารณญาณพิจารณาให้ถี่ถ้วนก่อนซื้อ
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ที่สําคัญ อย่าได้หลงเชื่อสรรพคุณว่าสามารถป้องกันหรือรักษาโรค นอกจากเสียเงินโดยไม่จําเป็นแล้ว หากท่านมีโรคประจําตัว อาจได้รับผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายต่อร่างกายโดยคาดไม่ถึงได้ พร้อมทั้ง ขอให้ผู้ประกอบการทุกรายเห็นแก่ความปลอดภัยของผู้บริโภค ดําเนินธุรกิจอย่างมีคุณธรรมและจริยธรรม อย่าโฆษณาด้วยวิธีต่าง ๆ ในลักษณะที่เกินเลยความเป็นจริง มิฉะนั้น อย. จะดําเนินการตามกฎหมายอย่างเข้มงวดและเด็ดขาด

หากผู้บริโภคพบเห็นการอวดอ้างสรรพคุณผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเกินจริง เช่น รักษาได้สารพัดโรค ช่วยในการลดน้ําหนัก ช่วยเรื่องผิวพรรณ เป็นต้น ผ่านทางสื่อต่างๆ หรือโฆษณาหลอกลวงให้ผู้บริโภคหลงเชื่อโดยการขายตรง ขอให้แจ้งร้องเรียนมายังสายด่วน อย. 1556 หรือสํานักงานสาธารณสุขจังหวัดทุกจังหวัด เพื่อทางราชการจะได้ตรวจสอบและดําเนินการตามกฎหมายต่อไป

กองพัฒนาศักยภาพผู้บริโภค 31 สิงหาคม 2554 ข่าวแจก 102 /ปีงบประมาณ 2554

No comments:

Post a Comment