การยกอวัยวะที่มีบาดแผลให้สูงกว่าระดับหัวใจ เป็นการห้ามเลือด โดยการลดแรงการไหลเวียนของเลือดให้ช้าลง ลดปริมาณการเสียเลือดของบาดแผล ขณะที่ร่างกายสร้างเกล็ดเลือดที่แผลทำให้เลือดแข็งตัวปิดปากแผล
------------------------------------------------------------------------------------------------------------
------------------------------------------------------------------------------------------------------------
การห้ามเลือด หมายถึง
การลดการสูญเสียเลือดไปจากร่างกายทางบาดแผล มีหลายวิธีด้วยกัน
1. การยกอวัยวะที่มีบาดแผลให้สุงกว่าระดับหัวใจ
เป็นการห้ามเลือดโดยการลดแรงการไหลเวียนของเลือดให้ช้าลง ลดปริมาณการเสียเลือดของบาดแผลขณะเดียวกันให้ใช้ผ้าสะอาดวางทับลงบนบาดแผล และใช้ผ้าพันรัดให้แน่นพอควรเลือดก็หยุด วิธีนี้ใช้ในกรณีที่เลือดออกไม่มากนัก
2. การกดบนบาดแผลโดยตรง
ใช้ในกรณีที่มีเลือดไหลรินจากบาดแผลตลอดเวลา ทำการห้ามเลือดโดยการใช้นิ้วมือกดลงบนบาดแผลโดยตรง หรือใช้ผ้าสะอาดปิดปากแผลกดลงโดยตรง เมื่อเลือดไหลซึมช้าลงให้ใช้ผ้าสะอาดอีกผืน ปิดทับลงบนผ้าปิดแผลเดิม และใช้ผ้าพันรัดบาดแผลให้แน่นพอควร ถ้ามีเลือดชุ่มออกมาให้เห็นให้เปลี่ยนเฉพาะผ้าปิดแผลผืนนอก เพราะถ้าเอาผ้าชิ้นแรกออกด้วย อาจทำให้ปากแผลแยกจากกันง่ายขึ้น ซึ่งเป็นผลทำให้เลือดออกเพิ่มขึ้นได้
3. การใช้แรงกดบนหลอดเลือดแดงใหญ่
ในกรณีที่ห้ามเลือดโดยกดที่บาดแผลโดยตรงและยกอวัยวะให้สูงขึ้นแล้วไม่ได้ผล อาจใช้แรงกดบนเส้นเลือดแดงใหญ่ ในตำแหน่งระหว่างบดแผลกับหัวใจ การกดโดยใช้แรงนิ้วมือกดลงบนหลอดเลือดแดงกับกระดูก
4. การใช้สายรัดห้ามเลือด หรือ วิธีขันเชนาะ
เป็นวิธีห้ามเลือดวิธีสุดท้ายในกรณีที่ห้ามเลือดด้วยวิธีอื่นๆข้างต้นแล้ว ไม่สามารถหยุดการเสียเลือดได้ ทั้งนี้เพราะว่าการห้ามเลือดวิธีนี้ ถ้าทำไม่ถูกวิธี เช่น รัดแน่น หรือ นานเกิน 6-8 ชั่วโมง อวัยวะที่ต่ำกว่าบริเวณที่รัดไว้อาจขาดเลือดไปเลี้ยง ทำให้เซลล์เนื้อเยื่อตายได้ วิธีขันเชนาะมีดังนี้
4.1) หุ้มบริเวณที่รัดด้วยผ้า เพื่อป้องกันการเจ็บปวดจากการรัด หรือเกิดแผลที่ผิวหนังตามรอยรัดได้
4.2) ใช้เชือก สายยาง ผ้าเช็ดหน้า หรือ เนคไท รัดเหนือบาดแผล ไม่ควรให้ชิดบาดแผลเเกินไป การขันเชนาะทำได้ดังนี้
- รัดเหนือแผลให้แน่น 2 รอบ แล้วผูก 1 ครั้ง
- ใช้ไม้ที่แข็งแรง เช่น ตะเกียบ ดินสอ ปากกา ฯลฯ วางลงและผูกซ้ำอีกครั้ง
- หมุนไม้ เพื่อรัดให้แน่นจนเลือดหยุดไหล
- ผูกปลายไม้อีกด้าน มัดกับแขนเพื่อให้ไม้อยู่กับที่
4.3) ไม่รัดแน่นหรือหลวมเกินไป โดยรัดให้แน่นพอที่เลือดจะหยุดไหลออกจากแผล
4.4) เมื่อรัดเหนือบาดแผลแล้ว ให้ยกปลายแขนหรือปลายขาให้สูงกว่าระดับหัวใจ เพื่อช่วยลดการไหลเวียนของเลือดมาที่แผลให้น้อยลง
4.5) คลายรัดทุก 15-30 นาที โดยคลายนาน 1/2 – 1 นาที ถ้ายังมีเลือดออก อาจคลายเพียง 1-3 วินาที
4.6) ภายหลังการห้ามเลือด รีบนำผู้บาดเจ็บส่งโรงพยาบาลทันที เพื่อรับการรักษาที่เหมาะสมต่อไป
1. การยกอวัยวะที่มีบาดแผลให้สุงกว่าระดับหัวใจ
เป็นการห้ามเลือดโดยการลดแรงการไหลเวียนของเลือดให้ช้าลง ลดปริมาณการเสียเลือดของบาดแผลขณะเดียวกันให้ใช้ผ้าสะอาดวางทับลงบนบาดแผล และใช้ผ้าพันรัดให้แน่นพอควรเลือดก็หยุด วิธีนี้ใช้ในกรณีที่เลือดออกไม่มากนัก
2. การกดบนบาดแผลโดยตรง
ใช้ในกรณีที่มีเลือดไหลรินจากบาดแผลตลอดเวลา ทำการห้ามเลือดโดยการใช้นิ้วมือกดลงบนบาดแผลโดยตรง หรือใช้ผ้าสะอาดปิดปากแผลกดลงโดยตรง เมื่อเลือดไหลซึมช้าลงให้ใช้ผ้าสะอาดอีกผืน ปิดทับลงบนผ้าปิดแผลเดิม และใช้ผ้าพันรัดบาดแผลให้แน่นพอควร ถ้ามีเลือดชุ่มออกมาให้เห็นให้เปลี่ยนเฉพาะผ้าปิดแผลผืนนอก เพราะถ้าเอาผ้าชิ้นแรกออกด้วย อาจทำให้ปากแผลแยกจากกันง่ายขึ้น ซึ่งเป็นผลทำให้เลือดออกเพิ่มขึ้นได้
3. การใช้แรงกดบนหลอดเลือดแดงใหญ่
ในกรณีที่ห้ามเลือดโดยกดที่บาดแผลโดยตรงและยกอวัยวะให้สูงขึ้นแล้วไม่ได้ผล อาจใช้แรงกดบนเส้นเลือดแดงใหญ่ ในตำแหน่งระหว่างบดแผลกับหัวใจ การกดโดยใช้แรงนิ้วมือกดลงบนหลอดเลือดแดงกับกระดูก
4. การใช้สายรัดห้ามเลือด หรือ วิธีขันเชนาะ
เป็นวิธีห้ามเลือดวิธีสุดท้ายในกรณีที่ห้ามเลือดด้วยวิธีอื่นๆข้างต้นแล้ว ไม่สามารถหยุดการเสียเลือดได้ ทั้งนี้เพราะว่าการห้ามเลือดวิธีนี้ ถ้าทำไม่ถูกวิธี เช่น รัดแน่น หรือ นานเกิน 6-8 ชั่วโมง อวัยวะที่ต่ำกว่าบริเวณที่รัดไว้อาจขาดเลือดไปเลี้ยง ทำให้เซลล์เนื้อเยื่อตายได้ วิธีขันเชนาะมีดังนี้
4.1) หุ้มบริเวณที่รัดด้วยผ้า เพื่อป้องกันการเจ็บปวดจากการรัด หรือเกิดแผลที่ผิวหนังตามรอยรัดได้
4.2) ใช้เชือก สายยาง ผ้าเช็ดหน้า หรือ เนคไท รัดเหนือบาดแผล ไม่ควรให้ชิดบาดแผลเเกินไป การขันเชนาะทำได้ดังนี้
- รัดเหนือแผลให้แน่น 2 รอบ แล้วผูก 1 ครั้ง
- ใช้ไม้ที่แข็งแรง เช่น ตะเกียบ ดินสอ ปากกา ฯลฯ วางลงและผูกซ้ำอีกครั้ง
- หมุนไม้ เพื่อรัดให้แน่นจนเลือดหยุดไหล
- ผูกปลายไม้อีกด้าน มัดกับแขนเพื่อให้ไม้อยู่กับที่
4.3) ไม่รัดแน่นหรือหลวมเกินไป โดยรัดให้แน่นพอที่เลือดจะหยุดไหลออกจากแผล
4.4) เมื่อรัดเหนือบาดแผลแล้ว ให้ยกปลายแขนหรือปลายขาให้สูงกว่าระดับหัวใจ เพื่อช่วยลดการไหลเวียนของเลือดมาที่แผลให้น้อยลง
4.5) คลายรัดทุก 15-30 นาที โดยคลายนาน 1/2 – 1 นาที ถ้ายังมีเลือดออก อาจคลายเพียง 1-3 วินาที
4.6) ภายหลังการห้ามเลือด รีบนำผู้บาดเจ็บส่งโรงพยาบาลทันที เพื่อรับการรักษาที่เหมาะสมต่อไป
จาก หนังสือ"อุบัติเหตุ
การปฐมพยาบาล และการดูแลตนเองเพื่อสุขภาพ" คณะพยาบาลศาสตร์
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์