(อ่านเพิ่มเติมเรื่อง จะทำอย่างไรเวลาน้ำร้อนลวก จากหมอชาวบ้าน
http://www.doctor.or.th/article/detail/5621)
น้ำร้อนลวกจะทำอย่างไร
อุบัติเหตุเกิดได้ตลอดเวลาและทุกสถานที่ หากไม่มี “จิตปลอดภัย” หมายถึงไม่มีความระมัดระวัง อุบัติเหตุในบ้านที่พบบ่อยพบได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่อย่างหนึ่งคือ น้ำร้อนลวก จะโดยสาเหตุใดก็ตามย่อมเกิดการทำลายของผิวหนัง เนื้อเยื่อหรือกล้ามเนื้อ
“น้ำร้อนลวก” ในเด็ดมีอันตรายมากกว่าผู้ใหญ่ เพราะพื้นที่บนร่างกายของเด็กมีน้อยบริเวณน้ำร้อนลวกจึงกว้างและอาจถูกอวัยวะสำคัญ เช่นลูกตา
1. อย่าตกใจ! จนทำอะไรไม่ถูก
2. นำผู้ได้รับอุบัติเหตุออกจากบริเวณที่มีน้ำร้อน
3. ใช้น้ำสะอาด (ถ้าเป็นน้ำเย็นยิ่งดี) ราดลงบริเวณที่ถูกลวก เพื่อช่วยระบายความร้อน
- อย่า! ถูบริเวณที่ถูกน้ำร้อนลวก เพราะจะทำให้ผิวหนังหรือเนื้อเยื่อถูกทำลายมากขึ้น
- อย่า! แกะแผลที่พองเพราะจะทำให้มีการติดเชื้อโรคที่บาดแผลและเสียน้ำจากร่างกาย
- อย่า! ใช้น้ำปลาราด เพราะนอกจากจะเหม็นและแสบแล้ว ยังมีโอกาสนำเชื้อโรคเข้าสู่แผลอีกด้วย
4. ถ้าผู้ถูกน้ำร้อนลวกเป็นเด็ก หรือบริเวณที่ถูกน้ำร้อนลวกกว้างลึก หรือถูกอวัยวะสำคัญควรรีบนำส่งสถานพยาบาลหลังจากใช้น้ำสะอาดราดแล้ว
5. ถ้าถูกน้ำร้อนลวกเพียงเล็กน้อย ไม่มีแผล ใช้น้ำแข็งประคบจะทุเลาอาการปวดแสบปวดร้อนลง จากนั้นใช้วาสลินทาบางๆ
6. ถ้ามีแผลพองอย่าแกะ ในไม่ช้าน้ำในแผลพองจะถูกดูดซึมแห้งไปเอง ถ้าแผลพองแตก ให้ใช้ยาแดงแต้มบางๆ
7. ถ้าน้ำร้อนลวกถูกบริเวณตา ให้ป้ายตาด้วยขี้ผึ้งป้ายตาปฏิชีวนะหรือพาราฟีนเหลวหลับตาไว้ปิดตาด้วยผ้าสะอาด ถ้าปวดต้องให้ยาแก้ปวดแล้วนำส่งสถานพยาบาลโดยเร็ว
บุคคลที่ถูกน้ำร้อนลวกมากๆ และปล่อยทิ้งไว้หรือรักษาเองด้วยการพอกยา พ่นยา อาจมีอาการแทรกซ้อนจาก
(1) เสียน้ำมาก มีไข้สูง
(2) แผลติดเชื้อโรคทำให้แผลเน่า หรือเกิดเชื้อบาดทะยัก
(3) กล้ามเนื้อหรือเอ็นถูกทำลาย ทำให้อวัยวะยึดติดกันหรือผิดรูป เช่น บริเวณนิ้วมือ นิ้วเท้า เป็นต้น
ดังนั้น “ควรระมัดระวัง” โดยเฉพาะเด็กในวัยต่างๆให้พ้นจากการถูกน้ำร้อนลวก น้ำมันกระเด็น น้ำมันลวก เพราะเด็กยังป้องกันตนเองไม่ได้ พ่อแม่ผู้เลี้ยงดูสามารถป้องกันให้เด็กได้ โดยการมีจิตปลอดภัย
“น้ำร้อนลวก” ในเด็ดมีอันตรายมากกว่าผู้ใหญ่ เพราะพื้นที่บนร่างกายของเด็กมีน้อยบริเวณน้ำร้อนลวกจึงกว้างและอาจถูกอวัยวะสำคัญ เช่นลูกตา
1. อย่าตกใจ! จนทำอะไรไม่ถูก
2. นำผู้ได้รับอุบัติเหตุออกจากบริเวณที่มีน้ำร้อน
3. ใช้น้ำสะอาด (ถ้าเป็นน้ำเย็นยิ่งดี) ราดลงบริเวณที่ถูกลวก เพื่อช่วยระบายความร้อน
- อย่า! ถูบริเวณที่ถูกน้ำร้อนลวก เพราะจะทำให้ผิวหนังหรือเนื้อเยื่อถูกทำลายมากขึ้น
- อย่า! แกะแผลที่พองเพราะจะทำให้มีการติดเชื้อโรคที่บาดแผลและเสียน้ำจากร่างกาย
- อย่า! ใช้น้ำปลาราด เพราะนอกจากจะเหม็นและแสบแล้ว ยังมีโอกาสนำเชื้อโรคเข้าสู่แผลอีกด้วย
4. ถ้าผู้ถูกน้ำร้อนลวกเป็นเด็ก หรือบริเวณที่ถูกน้ำร้อนลวกกว้างลึก หรือถูกอวัยวะสำคัญควรรีบนำส่งสถานพยาบาลหลังจากใช้น้ำสะอาดราดแล้ว
5. ถ้าถูกน้ำร้อนลวกเพียงเล็กน้อย ไม่มีแผล ใช้น้ำแข็งประคบจะทุเลาอาการปวดแสบปวดร้อนลง จากนั้นใช้วาสลินทาบางๆ
6. ถ้ามีแผลพองอย่าแกะ ในไม่ช้าน้ำในแผลพองจะถูกดูดซึมแห้งไปเอง ถ้าแผลพองแตก ให้ใช้ยาแดงแต้มบางๆ
7. ถ้าน้ำร้อนลวกถูกบริเวณตา ให้ป้ายตาด้วยขี้ผึ้งป้ายตาปฏิชีวนะหรือพาราฟีนเหลวหลับตาไว้ปิดตาด้วยผ้าสะอาด ถ้าปวดต้องให้ยาแก้ปวดแล้วนำส่งสถานพยาบาลโดยเร็ว
บุคคลที่ถูกน้ำร้อนลวกมากๆ และปล่อยทิ้งไว้หรือรักษาเองด้วยการพอกยา พ่นยา อาจมีอาการแทรกซ้อนจาก
(1) เสียน้ำมาก มีไข้สูง
(2) แผลติดเชื้อโรคทำให้แผลเน่า หรือเกิดเชื้อบาดทะยัก
(3) กล้ามเนื้อหรือเอ็นถูกทำลาย ทำให้อวัยวะยึดติดกันหรือผิดรูป เช่น บริเวณนิ้วมือ นิ้วเท้า เป็นต้น
ดังนั้น “ควรระมัดระวัง” โดยเฉพาะเด็กในวัยต่างๆให้พ้นจากการถูกน้ำร้อนลวก น้ำมันกระเด็น น้ำมันลวก เพราะเด็กยังป้องกันตนเองไม่ได้ พ่อแม่ผู้เลี้ยงดูสามารถป้องกันให้เด็กได้ โดยการมีจิตปลอดภัย
No comments:
Post a Comment