Monday, January 6, 2014

ระวังอันตรายจากยาทาผิวขาวผสมสารสเตียรอยด์

อย.เตือนระวัง ยาทาให้ผิวขาว อันตราย-ขาลาย


อย.เตือน ภัยครีมผิวขาว หลังพบวัยรุ่นเพชรบุรีมีผลข้างเคียงเกิดจ้ำเลือดจนน่องลาย พบทั้ง สเตียรอยด์และสารต้องห้ามเพียบ บางชนิดมีส่วนผสมยาอันตราย ใช้แล้วแพ้ผื่นคัน เผยพบในครีมกระปุกแบ่งขาย ผสมเอง และบนฉลากภาษาจีนที่วางขายตามตลาดนัด ร้านเสริมสวยและอินเตอร์เน็ต กำลังฮิตในหมู่วัยรุ่นขนาดผิวคล้ำแต่เกิดยังซื้อใช้ หวังให้ผิวขาวมีออร่า

เมื่อ วันที่ 5 ม.ค.นายประพนธ์ อางตระกูล รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวว่า ขณะนี้วัยรุ่นและนักศึกษาไทยมีค่านิยมอยากมีผิวขาวใสหรือที่เรียกว่าผิวมีออ ร่า จนทำให้ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่ทำให้ผิวขาวได้รับความนิยม มีการโฆษณา ชวนเชื่อและจำหน่ายทางอินเตอร์เน็ต หรือบอกปากต่อปากในกลุ่มเพื่อนและคนใกล้ชิด ทำให้อยากลองใช้แม้ตัวเองจะมีผิวคล้ำมาแต่กำเนิดก็ตาม ซึ่งเกิดความเสี่ยงได้รับผลข้างเคียงจากเครื่องสำอางที่ไม่ได้มาตรฐาน

นาย ประพนธ์กล่าวว่า จากการสำรวจท้องตลาดขณะนี้พบผลิตภัณฑ์ใหม่กำลังได้รับความนิยม เช่น ครีมกระปุกหรือครีมที่ขายเป็นกิโลกรัมและแบ่งขายเป็นกระปุกหรือเป็นขวดที่ ไม่มีฉลาก โดยจ.เพชรบุรีได้รับรายงานว่ากลุ่มวัยรุ่นอายุ 16-18 ปี มีอาการแพ้ ผิวหนังมีผื่นคันและแตกเป็นลายที่บริเวณขา ซึ่งเกิดจากการใช้เครื่องสำอาง นักเรียนให้ข้อมูลว่าส่วนใหญ่ซื้อครีมจากร้านค้าแผงลอยในตลาดนัด รองลงมาคือร้านจำหน่ายเครื่องสำอางที่น่าเชื่อถือ ร้านเสริมสวย ร้านชำทั่วไป สั่งซื้อจากอินเตอร์เน็ต และซื้อจากเพื่อนและญาติ โดยกลุ่มวัยรุ่นใช้ครีมดังกล่าวทาผิววันละ 2-3 ครั้ง นาน 6 เดือนถึง 2 ปี จนเกิดอาการที่กล่าวมาข้างต้น

น.ส.จารุวรรณ ลิ้มสัจจะสกุล ผอ.ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 5 สมุทรสงคราม กล่าวว่า ทางศูนย์และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพชรบุรี ติดตามคุ้มครองผู้บริโภคมากว่า 1 ปี โดยเก็บตัวอย่างครีม โลชั่นทาผิว 11 ตัวอย่างที่วางขายในจ.เพชรบุรี ประกอบด้วยครีม 4 ประเภท ได้แก่ 1.ครีมผสมเองแบ่งขายใส่กระปุกที่ไม่มีฉลาก 2.ครีมที่ผสมเองแบ่งขายใส่กระปุกที่มีฉลากแต่ไม่ได้จดแจ้ง 3.ครีมที่มีฉลากภาษาจีน และ 4.ครีมที่มีฉลากภาษาจีนซึ่งเป็นยาใช้ภายนอก ผลตรวจวิเคราะห์พบสารสเตียรอยด์ชนิดโคลเบทาซอล โพรพิโอเนต (Clobetasol propionate) ในครีมทั้ง 11 ตัวอย่าง ปริมาณ 8.0-449.8 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ซึ่งเป็นส่วนผสมที่สูงมาก นอกจากนี้ยังตรวจพบสารคีโตโคนาโซล (Ketoconazole) ซึ่งจัดเป็นยาในทุกตัวอย่าง และบางตัวอย่างตรวจพบการใส่วัตถุกันเสีย 2 ชนิด คือ เมทิลพาราเบน (Methylparaben) และโพรพิลพราราเบน (Propylparaben) ด้วย

น.ส.จารุ วรรณกล่าวว่า สารโคลเบทาซอล โพรพิโอเนต เป็นสารห้ามใช้ในเครื่องสำอางตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องกำหนดวัตถุที่ห้ามใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตเครื่องสำอาง สารดังกล่าวเป็นยาสเตียรอยด์ใช้ทาภายนอกร่างกายที่มีความแรงสูงสุด ใช้รักษาผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงิน โรคผื่นผิวหนังที่ดื้อยาสเตียรอยด์ชนิดรุนแรงปานกลาง หรือใช้ในบริเวณผิวหนังที่หนา เช่น ขาหรือส้นเท้า สารชนิดนี้เมื่อใช้ไปนานๆ จะทำให้ผิวหนังบางลง เกิดจ้ำเลือดง่าย หรือมีรอยแตกที่ผิวหนัง เป็นต้น เบื้องต้นพบว่าครีมดังกล่าวมาจากประเทศจีน มักขายตามแนวชายแดน มีฉลากภาษาจีนเป็นยาใช้ภายนอก ข้างกล่องจะมีตัวย่อ OTC (Over the Counter drug) หมายถึงกลุ่มยาที่ประชาชนสามารถเลือกซื้อใช้ได้เองจากร้านขายยาและร้านค้า ทั่วไปในประเทศจีน แต่ในไทยจัดเป็นยาอันตราย ต้องซื้อจากร้านขายยาที่มีเภสัชกรแผนปัจจุบันประจำอยู่เท่านั้น

น.ส.จารุ วรรณกล่าวว่า ปี 2557 ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 5 สมุทรสงคราม ร่วมกับกลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภค สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดในเครือข่ายทั้ง 8 จังหวัด ได้แก่ เพชรบุรี สมุทรสาคร สมุทรสงคราม ราชบุรี กาญจนบุรี ประจวบคีรีขันธ์ นครปฐม และสุพรรณบุรี เฝ้าระวังการใช้เครื่องสำอางอันตรายที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ โดยเก็บตัวอย่างตรวจวิเคราะห์อย่างต่อเนื่องเพื่อกวาดล้างเครื่องสำอางที่ ไม่ได้มาตรฐานจากท้องตลาด เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารความรู้ต่างๆ จากการใช้เครื่องสำอางที่มีส่วนผสมสารอันตรายหรือสารต้องห้ามเพื่อให้ ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจ และตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขกำหนดให้ผู้ประกอบการผลิตหรือนำเข้าเครื่อง สำอางจะต้องไปจดแจ้งกับ อย. ก่อนวางขายในท้องตลาด เมื่อจดแจ้งแล้วผลิตภัณฑ์นั้นจะได้เลขที่ใบรับแจ้ง 10 หลัก โดยจะต้องแสดงเลขที่ใบรับแจ้งดังกล่าวไว้บนฉลากของผลิตภัณฑ์นั้นๆ ด้วย ประชาชนสามารถตรวจสอบได้ก่อนตัดสินใจซื้อจากเว็บไซต์ www.fda.moph.go.th หรือจาก Oryor Smart Application หรือสอบถามที่ อย. โทร.0-2590-7441 หรือ 0-2590-7273-4

ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุขออกประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 7 ว่าด้วยการกำหนดวัตถุที่ห้ามใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตเครื่องสำอาง ปรับปรุงจากประกาศฉบับเดิมให้มีความทันสมัยตามข้อเสนอของคณะกรรมการควบคุม เครื่องสำอาง และเพื่อการรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ซึ่งรมว.สาธารณสุขลงนามแล้วตั้งแต่วันที่ 25 ก.ค. 2556 และประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 16 ก.ย. 2556 มีผลบังคับใช้หลังจากครบ 180 วันนับตั้งแต่วันที่ลงในราชกิจจานุเบกษา คือวันที่ 15 มี.ค.2557 เป็นต้นไป
 

http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNNE9EazNOREUyTVE9PQ==&subcatid=

No comments:

Post a Comment